โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 26 – กัญชาในวัฒนธรรมทันสมัย (5)

การเสพกัญชา (Cannabis) ยังมีผลกระทบต่อการรับรู้ (Cognitive) ด้วย เช่น การบั่นทอน (Impairments) การเรียนรู้, ความทรงจำ, สมาธิ (Attention), และคะแนนความสามารถทางสติปัญญา (Intelligence quotient: IQ) ที่ต่ำกว่าความคาดหวัง เป็นการค่อยๆ เปลี่ยนแปลง (Morphs) ไปยังทิศทางที่มีผลตามมาทางสังคม (Social consequence)

ประจักษ์หลักฐานของการเสพกัญชามีความสัมพันธ์กับการลดทอนผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ (Academic achievement), ทางระดับการศึกษา, และทางสังคม ที่ส่งผลให้อัตราการว่างงาน (Unemployment) สูงขึ้นและรายได้ (Income) ต่ำลง

นอกจากนี้ ยังมีประจักษ์หลักฐานที่เชื่อมโยงการเสพกัญชา กับวิวัฒนาการของการเสพติดอย่างอื่น เช่น แอลกอฮอล์, ยาสูบ, และยาที่ผิดกฎหมาย (Illicit drug)

แล้วกัญชา (Marijuana) เป็นยา (Medicine) หรือไม่

คำตอบคือ ไม่ เหมือนเชื้อรา (Mold) ที่ชื่อ เพ็นนิซิเลียม รูเบ็นส์ (Penicillium rubens) เราไม่เสพเชื้อรา เพื่อต่อสู้ (Combat) กับการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่เราจะแยกผลิตภัณฑ์เพ็นนิซิลลิน (Penicillin)  จากเชื้อรา แล้วชำระล้างให้บริสุทธิ์ (Purify) เพื่อใช้เป็นยาปฏิชีวนะ (Anti-biotic)

ในทำนองเดียวกัน เราจำเป็นต้อง แยก THC (=Tetra-hydro-cannabinol) และ CBD (=Cannabidiol) แล้วชำระล้างให้บริสุทธิ์ ก่อนมุ่งเน้น (Concentrate) ไปที่ศักยภาพการใช้ในเงื่อนไขทางการแพทย์ ในปัจจุบันมียาที่สำนักงานอาหาและยา (Food and Drug Administration: FDA) แห่งอเมริกา ได้อนุมัติแล้วให้ใช้ได้โดยผ่านการสูบ (Smoking)

ยาดังกล่าว เป็นยาละอองลอย (Aerosolized) [ซึ่งต้องมีใบสั่งแพทย์ (Prescription)] ที่สามารถสูดเข้า (Inhale) ร่างกาย ในรูปแบบของผงแห้ง (Dry powder), วัดปริมาณได้ (Metered dose), หรือ ไอหมอกนุ่ม (Soft mist) ผ่านเครื่องพ่นยา (Nebulizers) แต่ไม่มีการจุด และการสูบ

กัญชาอาศัยการเผาไหม้ (Combustion) เป็นหนทางในการส่งยา แต่วิธีนี้ไม่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ และยังไม่มีประจักษ์หลักฐานทางการแพทย์ (Clinical evidence) ว่ากัญชา (Cannabis) สามารถลดความเสี่ยงของมะเร็ง, เพิ่มพูนระบบภูมิคุ้มกัน, หรือมีคุณประโยชน์ในการรักษาต้อหิน (Glaucoma)

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการตอกย้ำว่า การเสพกัญชาเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง โดยเฉพาะในพัฒนาการสมองของเด็ก และวัยรุ่น (Adolescents) ส่วนผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน หากมีความถี่สูงในการเสพกัญชาทรงพลัง (High potent)

นอกจากนี้ ยังดูเหมือนว่า การเสพกัญชาทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจ (Heart disease) และหลอดเลือด (Cardio-vascular) และโรคปอด (Pulmonary) แม้ว่าการเชื่อมโยง (Connection) นี้ ยังไม่มีประจักษ์หลักฐานมัดแน่น (Solid) ในปัจจุบัน ส่วนมากแล้ว การเสพกัญชาเพื่อความบันเทิงรื่นเริงใจ (Recreation) มากกว่า ทั้งกรณีในสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย

แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
  3. Penicillium rubens - https://en.wikipedia.org/wiki/Penicillium_rubens [2023, July 25].